อาหารเสริมอันดับ 1 ของโลก
|  
 ตะกร้าสินค้า (0)

ไฟโตนิวเทรียนท์กับการรักษาโรคร้าย

 

มะเร็งคืออะไร

 

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

เท่าที่มีรายงานไว้ใน ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น

 
 

(Root) 2008730-13-65288.jpg          (Root) 2008730-13-65302.jpg           (Root) 2008730-13-65311.jpg           (Root) 2008730-13-65320.jpg
  
ไฟโตนิวเทรียนท์กับการบำบัดโรคมะเร็ง
  
 
 
 สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (อังกฤษ: Phytochemical หรือ Phytonutrients) หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว สารพฤกษเคมีเหล่านี้หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดและโรคสำคัญที่มักจะกล่าวกันว่าสารกลุ่มนี้ช่วยป้องกันได้คือ“ โรคมะเร็ง ” กลไกการทำงานของสารพฤกษเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเป็นไปโดยการช่วยให้เอ็นไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น เอ็นไซม์บางชนิดทำหน้าที่ทำลายสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย มีผลทำให้สารก่อมะเร็งหมดฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันพบสารพฤกษเคมีแล้วมากกว่า 15,000 ชนิด

ผักและผลไม้รวมเข้มข้น คือ สารสกัดเข้มข้นที่ได้จากผักและผลไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งให้สารอาหารและสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนั้น ผักและผลไม้ยังเป็นแหล่งที่ดีที่สุดสำหรับสารต้านอนุมูลอิสระ คนไทยส่วนมากรับประทานผักและผลไม้ได้ไม่เพียงพอในแต่ละวัน จึงอาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับต่ำ การบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้

นักวิทยาศาสตร์พบว่าสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้ !!!!
  • เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

งานวิจัยจำนวนมากแนะนำว่าควรทานอาหารเสริมที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์จะทำให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการทานผักและผลไม้ธรรมดาซึ่งได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารเพียงแหล่งเดียว

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับสารพฤกษเคมีจากผักและผลไม้รวมเข้มข้นที่น่าสนใจ

 ประเภทของสารพฤกษเคมี

  1. แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)
  2. กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate) / ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate)
  3. โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) , โพรแอนโธไซยานิน (Proanthocyanidins)
  4. ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)
  5. เฟนโนลิก (Phenolics) / สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)
  6. ซาโปนินส์ (Saponins)
  7. ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)
  8. ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)

 เควอซิทิน (Quercetin)

เควอซิทินกับบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ เควอซิทินเป็นสารพฤกษเคมีที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด มีมากในหัวหอม หอมแดง และพืชตระกูลถั่ว ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นในหลอดเลือด และป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันได้ การรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเควอซิทินในปริมาณสูงมีส่วนสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจที่ดี จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า เควอซิทินถือว่าเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ที่ปกป้องหลอดเลือด (vasoprotective) และช่วยในการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนและการทำงานหัวใจดีขึ้น

  • การได้รับฟลาโวนอลและฟลาโวนในระดับที่สูง ( มากกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน ) จะช่วยลดความเสี่ยงของ การเกิดโรคลมชักในระยะแรกในผู้ป่วยสูงอายุได้สองในสามส่วน เควอซิทิน คือ ฟลาโวนอยด์ที่สำคัญในอาหารที่ทำการศึกษาในครั้งนี้
  • เควอซิทินมีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดและปกป้องหลอดเลือด และลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันแอลดีแอล (LDL) จากการทดลองในหลอดทดลอง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่จะช่วยในการทำงานของหลอดเลือด หัวใจและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เควอซิทินกับบทบาทสำคัญในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง
  • เควอซิทินทำให้เกิดการยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์ และรวมถึงการทำให้เกิดอะพ็อพโทซิส (apoptosis) หรือการตายของเซลล์ในการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านมที่ผิดปกติได้
  • เควอซิทินได้รับการพิสูจน์ให้เห็นว่าลดการเจริญเติบโตในเซลล์เนื้องอก ของเซลล์ในเซลล์ในลำไส้ รวมทั้งยังช่วยยับยั้งฟอสโฟริลเลชั่น (phosphorylation) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้ 

 

กรดเอลลาจิก (Ellagic Acid)

กรดเอลลาจิกอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกทำลายดีเอ็นเอของเซลล์บางชนิด

  • กรดเอลลาจิกช่วยลดการทำลายดีเอ็นเอที่จะทำให้ เกิดโรคเรื้อรังทำให้เกิดภาวะแก่ขึ้น  และการเป็นโรคมะเร็ง!!
  • กรดเอลลาจิกจะยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์บางชนิด เช่น เอ็น - อะซิติลทรานเฟอเรส ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยน แปลงโครงสร้างดีเอ็นเอในเนื้องอกในกระเพาะ ปัสสาวะของมนุษย์ กรดเอลลาจิกในปริมาณที่มากขึ้นจะยับยั้ง การทำงานของเอ็นไซม์ในขอบเขตที่มากขึ้นได้
  • เมื่อเซลล์กลายเป็นมะเร็ง กรดเอลลาจิกอาจจะสามารถหยุดการขยายตัวของเซลล์ กรดเอลลาจิกช่วยยับยั้ง การแบ่งเซลล์ในเซลล์มะเร็งปากมดลูก และยังช่วย ป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้

 

เฮสเพอริดิน (Hesperidin)

เฮสเพอริดินช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและเส้นเลือดดำ

  • เฮสเพอริดินมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสุขภาพของ เส้นเลือดดำ โดยเฉพาะการลดการซึมผ่านและความ อ่อนแอของเส้นเลือดดำ โดยเฉพาะโรคที่สัมพันธ์กับ การเพิ่มการซึมผ่านเส้นเลือด เช่น ริดสีดวงทวาร ลักปิดลักเปิด แผลเน่าเปื่อยพุพอง แผลถลอก
  • การขาดเฮสเพอริดินจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ เส้นเลือดฝอย ความอ่อนเพลีย และตะคริวที่ขาในเวลา กลางคืน การเสริมเฮสเพอริดินจะช่วยลดอาการบวมน้ำ หรือการบวมเนื่องจากการสะสมของของเหลว โดยสาร เฮสเพอริดินจะทำงานดีที่สุดเมื่อมีวิตามินซีร่วมด้วย
  • เฮสเพอริดินที่รวมกับฟลาโวนอยด์จากผลไม้จำพวกส้ม เช่น ไดออสมิน (Diosmin) มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของเส้นเลือดดำขอด ริดสีดวงทวาร ได้โดยการช่วยลดความตึงและความยืดหยุ่นของเส้นเลือดดำ และช่วยลดการซึมผ่านของเส้นเลือดจึงสามารถลดอาการบวมน้ำได้

เฮสเพอริดินอาจจะลดระดับพลาสมาคอเลสเตอรอล

  • บุคคลที่ดื่มน้ำส้มถึง 3 แก้วต่อวัน จะเพิ่มระดับไขมัน ชนิดดี (HDL) ได้ถึง 21% และลดระดับคอเลสเตอ-รอลและไตรกลีเซอไรด์

 

 สารลูทีน (Lutein)

ลูทีนเป็นแคโรทีนอยด์สีเหลืองซึ่งมีส่วนอย่างมากในการต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระ ลูทีนพบได้ทั่วไปในผักใบเขียวและมีส่วนสำคัญในการบำรุงสายตา โมเลกุลของลูทีนพบในปริมาณสูงในจุดของดวงตา โดยเฉพาะพื้นที่ของเรตินาที่เกี่ยวกับการรับภาพ ซึ่งจะช่วยในการดูดซับแสงสีน้ำเงินในแถบสีการมองเห็นและช่วยปกป้องการทำลายของคลื่นสั้นที่มีต่อเยื่อบุผิวเรตินาจากการศึกษา พบว่า ระดับลูทีน 2.0 – 6.9 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตาได้สารลูทีนจะช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในการป้องกันเยื่อแก้วตา (retina)

  • การรับประทานแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูงที่สุดจะมี อัตราเสี่ยงต่ำกว่า 43% สำหรับภาวะการเสื่อมของจอประสาทตาตามอายุอย่างเฉียบพลันของจอประสาทตา เมื่อเปรียบเทียบการรับประทานในปริมาณที่ต่ำที่สุด จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 876 คนซึ่งมีอายุ ระหว่าง 55-80 ปี การได้รับลูทีนและซีซานทีน ในอัตราสูงจะช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมอย่างเฉียบพลันตามอายุได้
  • จากการศึกษาคนไข้จำนวน 421 คน แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับลูทีนและซีซานทีนในระดับสูงที่สุดจะมีส่วน สำคัญต่อการลดระดับอัตราเสี่ยงของความเสื่อมของ ตาตามอายุได้
  • จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับลูทีนในระดับสูงที่สุดจะเป็นต้อกระจกในอัตราที่ต่ำกว่า ผู้ที่ไม่รับประทานลูทีนจากผักและผลไม้เละสารลูทีนอาจช่วยป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งสำไส้ และมะเร็งเต้านม พบว่าการรับประทานสารลูทีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ในทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และการลดอัตราเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือการตรวจพบการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะเริ่มแรก การรับประทานผักที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ ซึ่งประกอบด้วยลูทีนในปริมาณสูงจะมีความสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ลดลง โดยเฉพาะสำหรับสตรีที่มีประวัติว่ามีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม 

 

ไลโคปีน (Lycopene)

ไลโคปีนช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ผู้เข้ารับการทดสอบที่รับประทานมะเขือเทศในปริมาณสูงที่สุด 10 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยง ในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่าเมื่อเปรียบ เทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 1.5 ครั้งต่อสัปดาห์
  • การรับประทานมะเขือเทศในอัตราสูงจะช่วยลดอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทุกประเภท ได้ถึง 35% และลดความรุนแรงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 53%
  • สารสกัดจากมะเขือเทศที่ประกอบด้วยไลโคปีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในคนไข้ภายหลังจากการรักษา โรคมาแล้ว 3 สัปดาห์
  • ไลโคปีนอาจจะมีส่วนสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยจะลดการเกิดเนื้องอกและยับยั้งการพัฒนา วงจรชีวิตของเซลล์ในช่วงต้นของการเกิดเซลล์มะเร็ง (ระยะ G1) ไลโคปีนอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
  • บุคคลที่มีสารสกัดพลาสมาไลโคปีนที่สูงที่สุดจะมี เปอร์เซ็นต์ของการเกิดการหนาตัวของหลอดเลือด IMT (intima-mediated thickness) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดระยะเริ่มต้นได้ต่ำสุด ถึง 90% ดังนั้น การได้รับไลโคปีนในปริมาณที่สูงอาจช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • การรับประทานไลโคปีนสามารถอัตราเสี่ยงของการ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันต่ำกว่า 60% สำหรับบุคคลที่ มีสารสกัดไลโคปีนสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีสารสกัดไลโคปีนต่ำสุดไลโคปีนอาจจะลดความรุนแรงของการเผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์
  • บุคคลที่รับประทานมะเขือเทศบด 40 กรัมต่อวัน ได้รับสารไลโคปีน 16 กรัมต่อวัน จะมีอัตราของอาการ เผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์ลดลง 40% หลัง จากรับประทานมะเขือเทศติดต่อกันนาน 10 สัปดาห์

 

อ้างอิงแหล่งข้อมูลวิจัย



แซลแมน เอช เบิร์กแมน เอ็ม กันยายน 1999 ผลกระทบที่ได้รับจากกระเทียม (แอลลีน) ต่อการตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดแดง อินท์ เจ อิมมันโนฟาร์มาโคล 21(9):589-97

อิชิกาว่า เอ็ม ริว เค.  2002 ผลกระทบของการต่อต้านสารอนุมูลอิสระของ เตตระไฮโดร-เบต้า-คาร์โบลีน ที่ได้รับจากการบริโภคกระเทียมที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว ไบโอแฟคเตอร์ 16(3-4):57-72

ดัลลู เอ จี และคณะ ประสิทธิภาพของการได้รับสารสกัดจากชาเขียวที่อุดมไปด้วยแคททีชิน โพลีฟีนอล และคาเฟอีนในการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นตลอด 24 ชม. อนุมูลอิสระประเภทไขมันในร่างกายมนุษย์ วารสารทางโภชนาการทางการแพทย์แห่งสหรัฐอมริกา 1999; 70: 1040-45

บอร์เดีย เอ และคณะ1975 ผลกระทบที่สำคัญของน้ำมันจากกระเทียม หัวหอมในอาหารจำพวกไฮเพอร์ลิพิเมีย เอทเทอโรสเคลียโรซิส 21(1):15-9

คลีบานอฟ จีไอ และคณะ1998 คุณสมบัติการต่อต้านสารอนุมูลอิสระของไลโคพีน เมมแบรนส์ เซลล์ ไบโอโลจี12 (2):287-300

โอคเลย์ จีพี 2002 โกลบอล พรีเวนชั่น ออฟ ออล โฟลิค-เอซิด พรีเวนเทเบิล สไปน่า ไบฟีดา และเอเนนซิฟาลี 2010 คอมมูนิตี้ เจเนท   5(1):70-7

เคนดเลอร์ บีเอส1987 กระเทียม (Allium sativum) และหัวหอม (Allium cepa): บทวิจารณ์ถึงความสัมพันธ์ของสองสิ่งนี้ที่มีผลต่อโรคเกี่ยวกับหัวใจ พรีเวนเททีฟ เมดิซีน 16(5):670-85

ราโอ เอวี 2002 ไลโคพีน มะเขือเทศ และการป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การทดลองทางด้านเวชศาสตร์ 227(10):908-13

จีโอ เอชแอล 2003 ผลกระทบจากโพลีฟีนอลของชาเขียวที่มีเซลล์ HepG2 ของเซลล์ที่ต่อต้านการทำลายฟีโนไฟเบรท ฟรี เรดิคอล ไบโอโลจี เมดิซีน 1;35(9):1121-8

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน , เอกสารประกอบการบรรยาย "โภชนาการพื้นฐานเพื่อการมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด" , พ.ศ. 2550

Online: 1
Visits: 14,483
Today: 4
PageView/Month: 33
Last Update: 10/1/2554

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 14,483 Today: 4 PageView/Month: 33

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...